เหล็กหล่อสีเทาเป็นเหล็กหล่อที่เมื่อหักดูเนื้อเหล็กแล้ว ตรงรอยหลักจะมีลักษณะเป็นสีเทา มีกราไฟต์กระจายตัวอยู่ทั่วไป จึงนิยมเรียกว่าเหล็กหล่อสีเทา ตามลักษณะที่มองเห็น
และลักษณะของกราไฟต์ จะเป็นเหมือน Corn flakes ( Lamellar flakes ) ทั่วๆไปจะเรียก Flakes graphite
คุณสมบัติของเหล็กหล่อสีเทาที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรม คือ
1. สามารถหล่อชินงานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ดี เนื่องด้วยเป็นเหล็กที่มีอุณหภูมิหลอมเหลวต่ำ และมีความสามารถในการไหลตัว ( Fluidity ) ได้ดี
2. นิยมใช้ทำส่วนประกอบของเครื่องจักร ที่ต้องการขนาด และรูปร่างคงที่ เนื่องด้วยเป็นเหล็กที่มีอัตราการหดตัวต่ำ และมีอัตราการขยายตัวของเหล็กน้อย
3. นิยมนำมากลึง กัด เจาะ ไส และตกแต่งตามต้องการได้ง่าย เนื่องด้วยเหล็กมีความแข็งไม่มากนัก
4. นิยมใชทำแท่นเครื่องจักร เครื่องมือกล และชิ้นส่วนต่างๆ เนื่องด้วยเหล็กสามารถรับแรงสั่นสะเทือน แรงอัด และการดูดซับเสียงได้ดี
5. ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี เนื่องด้วยเหล็กมีฟิล์มคาร์บอนที่บริเวณผิวของชิ้นงาน or FC เหล็กหล่อสีเทาสามารถจำแนกเกรดตามคุณสมบัติเชิงกล โดยแยกตามความสามารถทนแรงดึงของเหล็ก ( Tensile Strenght ) นิยมมีชื่อขึ้นต้นด้วย G. หรือ FC
เหล็กหล่อกราไฟต์กลม หรือที่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น Nodular cast iron , Spheroidal graphite cast iron , Ductile iron โดยจะเรียกชื่อตามคุณสมบัติของเหล็กที่มีความเหนียวรับแรงกระแทกได้ดี และเรียกตามลักษณะของกราไฟต์ ที่มีรูปร่าง เป็นลักษณะกลม ( Nodule หรือ Speriod )
คุณสมบัติเหล็กหล่อเหนียวที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม คือ
1. นิยมใช้ทำชิ้นส่วน อุปกรณ์ ต่างๆที่ต้องการความแข็งแรงสูง และทนแรงบิด เนื่องด้วยเหล็กมีความสามารถทนแรงดีง ( Tensile Strenght) สูงและมีความทนต่อแรงยืดตัว ( Yield Strenght หรือ Proof strenght )
2. นิยมใช้ทำแท่นเครื่องและอุปกรณ์เครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา เนื่องด้วยเหล็กมีความสามารถทนแรงดีง ( Tensile Strenght) สูงและมีความทนต่อแรงยืดตัว ( Yield Strenght หรือ Proof strenght )
3. นิยมนำมากลึง กัด เจาะ ไส และตกแต่งได้ง่าย เนื่องด้วยเหล็กมีความแข็งไม่มากนัก
4. นิยมนำมาชิ้นส่วน และอุปกรณ์ ที่ทนต่อแรงเสียดสี และรับแรงกระแทกสูง เนื่องด้วยเหล็กมีคุณสมบัติสามารถนำไปอบชุบ เพื่มความแข็งผิวของเหล็ก เหล็กหล่อกราไฟต์กลมสามารถแยกเกรดได้ตามคุณสมบัติเชิงกล โดยแยกตามความสามารถทนแรงดึง ( Tensile Strenght ) และนิยมมีชื่อเรียกขึ้นต้นด้วย GGG หรือ FCD